วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด


จงคำนวณหาจุดเยือกแข็งของสารละลาย
สารละลายคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) 3.00 กรัม ในเบนซีน(C6H6) 190 กรัม
M = 225
n = m/M
n =3/225 =0.02
m = มวลของตัวละลาย/มวลของสารละลาย*1000
m = 0.02/190*1000 = 0.1
/_\ Tf  = Kfm
          = 4.9*0.1
          =0.49
จุดเยือกแข็งของ เบนซีน = 5.50
จุดเยือกแข็งของสารละลาย = 5.50 - 0.49 = 5.01 oC

แบบฝึกหัด


จงคำนวณหาความเข้มข้นเป็นโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตรของสารละลายต่อไปนี้
    ค. กลูโคส ( C6H12O6 ) 400 กรัม ในสารละลาย 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร

 mol / dm3 ของสารละลาย
= 400 g C6H12O6 / 800 cm3 x 1000 cm3 / 1 dm3 x 1 mol C6H12O6 / 180.1572 g C6H12O6
= 2.78 mol / dm3
สารละลาย C6H12O6 มีความเข้มข้น 2.78 mol / dm3


แบบฝึกหัด

จะต้องใช้น้ำ (H2O) กี่กิโลกรัม ในการละลายสารโซเดียมคลอไรด์
(NaCl) 234.0 กรัม เพื่อให้ได้สารละลายเข้มข้น
 0.25 โมลต่อกิโลกรัม
H2O = 58.5/0.25


H2O = 234 kg.

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่ 5 ขนิดของผลึก


        ของแข็งที่อยู่ในรูปผลึกมีลักษณะที่สำคัญคือมีการจัดเรียงอนุภาคภายในอย่างมีระเบียบในสามมิติ แต่ละอนุภาคยึดเหนี่ยวด้วยแรงชนิดต่าง ๆ มีโครงสร้างทางเรขาคณิตที่แน่นอน ของแข็งบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวที่ชัดเจนและคงที่ นั่นคือเมื่ออุณหภูมิถึงจุดหลอมเหลวสารประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวทันที
        ถ้าใช้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคภายในผลึกเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งของแข็งในรูปผลึกได้ 4 ประเภท ดังนี้

1. ผลึกโมเลกุล (Molecular crystal) เป็นผลึกที่เกิดจากโมเลกุลโคเวเลนต์ อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 5 สมบัติของเเก๊ส


            สมบัติทั่วไปของแก๊ส สมบัติทั่วไปของแก๊ส ได้แก่


       1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 

บทที่ 5 สมบัติของเหลว


      สมบัติของของเหลว

    1.  ของเหลวมีปริมาตรคงที่  เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวอยู่เป็นกลุ่มๆอย่างไม่เป็นระเบียบ  โดยมีระยะห่างระหว่างกลุ่มเล็กน้อยและของเหลวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่าแก๊ส  จึงทำให้โมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่ได้ระยะทางใกล้ ๆ  ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระเหมือนแก๊ส  จึงทำให้ของเหลวมีปริมาตรคงที่ไม่สามารถฟุ้งกระจายเต็มภาชนะ (มีปริมาตรเท่ากับภาชนะบรรจุ) 

บทที่ 5 สมบัติของเเข็ง

    สมบัติของของแข็งโดยทั่วไปของแข็งมีคุณสมบัติดังนี้

1. ปริมาตรคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดภาชนะที่บรรจุ
2. มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
3. มีอนุภาคอยู่ชิดติดกันอย่างมีระเบียบ
4. สามารถระเหิดได้  อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 4 การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี

 การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆเราเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี  สิ่งที่แสดงอยู่ในสมการเคมีจะประกอบด้วยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นๆ รวมทั้งภาวะต่างๆของการเกิดปฏิกิริยาด้วย  สมการเคมีจะช่วยให้เราคิดคำนวณค่าต่างๆ ของการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เช่น มวลหรือน้ำหนักของสารเคมีที่ถูกใช้ไปหรือที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพลังงานและอื่น ๆ

บททที่4 สมการเคมี

สมการเคมี

สมการเคมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้น (อาจเป็นปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล อะตอม หรือไอออนก็ได้) เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ และสูตรโมเลกุลที่เป็นตัวแทนของธาตุที่อยู่ในสารประกอบ อ่านเพิ่มเติม


บทที่4 สารละลาย

สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
      1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น

      2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน   อ่านเพิ่มเติม

บทที่4 มวลอะตอม

เนื่องจากอะตอมของแต่ละธาตุมีมวลน้อยมาก เช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีมวล 1.66 * 10-24 กรัม อะตอมของออกซิเจนมีมวล 2.65 * 10-23 กรัม ทำให้ไม่สามารถชั่งมวลของธาตุ 1อะตอมได้โดยตรง ดอลตันจึงได้พยายามหามวลอะตอม อ่านเพิ่มเติม